นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 8 สมัย
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เกิดวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2481 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของคุณไพโรจน์ พิมพ์ใจชน และเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์ สำเร็จการศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิต สำนักการอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
นายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จากการชักชวนของนายธรรมนูญ เทียนเงิน สมาชิกพรรค จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ยึดอำนาจตัวเอง นายอุทัย พิมพ์ใจชน พร้อมด้วย ส.ส. อีก 2 คน คือนายอนันต์ ภักดิ์ประไพ และนายบุญเกิด หิรัญคำ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาให้ดำเนินคดีต่อคณะปฏิวัติในข้อหากบฏ ถือเป็นท้าทายอำนาจของผู้มีอำนาจอย่างตรงไปตรงมา แต่แล้วศาลได้ตีความ และทำให้ทั้งสามคนตกเป็นจำเลย และถูกจำคุก โดยเฉพาะส่วนนายอุทัยจำคุกเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งต่อมาในยุครัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งหมดก็ได้รับการปลดปล่อย
ในปี พ.ศ. 2522 เมื่อ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้พ้นวาระและประกาศวางมือการเมือง นายอุทัยได้ลงแข่งขันเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป กับ นายชวน หลีกภัย เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์รุ่นเดียวกับ และ พ.อ.(พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ท่ามกลางการจับตามองของหลายฝ่าย โดยนายอุทัยได้รับการสนับสนุนจาก นายธรรมนูญ เทียนเงิน อดีตเลขาธิการพรรค ด้วยความเป็นคนชลบุรีด้วยกัน ปรากฏว่า ที่ประชุมพรรคได้เลือก พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป หลังจากนั้นไม่นาน นายอุทัยก็ได้ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองของตัวเองทั้งพรรคก้าวหน้า และพรรคเอกภาพ
นายอุทัย ได้ตกเป็นข่าวฮือฮาในปี พ.ศ. 2537 ขณะดำรงตำแหน่งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อถูกติวเตอร์คนหนึ่ง ปาถุงอุจจาระ ใส่ขณะแถลงข่าว หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น นายอุทัย ไม่ได้ดำเนินคดี หรือตอบโต้ใด ๆ กับผู้ก่อเหตุ ซึ่งส่งผลดีกับภาพลักษณ์ของนายอุทัย ในฐานะเป็นผู้มีอาวุโส ที่ไม่ใช้อำนาจกับผู้ด้อยอำนาจกว่า
ในปี พ.ศ. 2544 เมื่อพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้ง นายอุทัยก็ได้ย้ายตัวเองเข้าสังกัด พรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่ง ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ท้องสนามหลวง นายอุทัยได้ขึ้นปราศรัยบนเวทีขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย ต่อมาในการเลือกตั้งวุฒิสภาชิกเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอุทัยก็ได้ลงรับสมัครในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่ 12 ได้คะแนน 25,407 คะแนน
ก่อนการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายอุทัยเป็นบุคคลหนึ่ง ที่แสดงความเห็นอย่างชัดแจ้ง ไม่เห็นด้วยกับการรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ปัจจุบัน นายอุทัยได้ยุติบทบาททางการเมืองโดยสิ้นเชิงแล้ว โดยไปทำสวนเกษตรกรรมที่จังหวัดชลบุรี บ้านเกิด
ควง อภัยวงศ์ • หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) • มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) • ปฐม โพธิ์แก้ว • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • พงษ์ ปุณณกันต์ • ทวี จุลละทรัพย์ • ชลี สินธุโสภณ • เชาวน์ ณศีลวันต์ • สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ • ศิริ สิริโยธิน • ทวิช กลิ่นประทุม • เลอศักดิ์ สมบัติศิริ • สุรกิจ มัยลาภ • สมพร บุณยคุปต์ • อมร ศิริกายะ • สมัคร สุนทรเวช • บรรหาร ศิลปอาชา • มนตรี พงษ์พานิช • นุกูล ประจวบเหมาะ • วินัย สมพงษ์ • วิชิต สุรพงษ์ชัย • วันมูหะมัดนอร์ มะทา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุเทพ เทือกสุบรรณ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • ธีระ ห้าวเจริญ • สันติ พร้อมพัฒน์ • โสภณ ซารัมย์ • สุกำพล สุวรรณทัต • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • ประจิน จั่นตอง • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ
(รัฐมนตรีช่วย) วิลาศ โอสถานนท์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ปฐม โพธิ์แก้ว • ประเสริฐ สุดบรรทัด • หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) • ประมาณ อดิเรกสาร • ไสว ไสวแสนยากร • เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร • พงษ์ ปุณณกันต์ • จรูญ เฉลิมเตียรณ • เนตร เขมะโยธิน • ชลี สินธุโสภณ • อุทัย วุฒิกุล • ประจวบ สุนทรางกูร • ศรีภูมิ ศุขเนตร • อุทัย พิมพ์ใจชน • สมศาสตร์ รัตนสัค • บุญยง วัฒนพงศ์ • อนันต์ ภักดิ์ประไพ • ประทวน รมยานนท์ • บุญเกิด หิรัญคำ • ประชุม รัตนเพียร • สนอง นิสาลักษณ์ • ประสงค์ สุขุม • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • อมร ศิริกายะ • เทพ กรานเลิศ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • ทินกร พันธุ์กระวี • ยศ อินทรโกมาลย์สุต • ชาญ มนูธรรม • ชุมพล ศิลปอาชา • วีระ มุสิกพงศ์ • มนตรี พงษ์พานิช • บุญเทียม เขมาภิรัตน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • สุรพันธ์ ชินวัตร • นิคม แสนเจริญ • เอนก ทับสุวรรณ • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • เจริญ เชาวน์ประยูร • หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู • วิโรจน์ แสงสนิท • สุเทพ เทพรักษ์ • เสนาะ เทียนทอง • กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ • จรัส พั้วช่วย • ไสว พัฒโน • ทวี ไกรคุปต์ • สมศักดิ์ เทพสุทิน • พินิจ จารุสมบัติ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • เดช บุญ-หลง • สมบัติ อุทัยสาง • พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ดิเรก เจริญผล • อร่าม โล่ห์วีระ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ • สนธยา คุณปลื้ม • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ • โชคสมาน สีลาวงษ์ • อิทธิ ศิริลัทธยากร • ไชยา สะสมทรัพย์ • จองชัย เที่ยงธรรม • ประชา มาลีนนท์ • พงศกร เลาหวิเชียร • นิกร จำนง • พิเชษฐ สถิรชวาล • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี • อดิศร เพียงเกษ • ภูมิธรรม เวชยชัย • ชัยนันท์ เจริญศิริ • สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม • ทรงศักดิ์ ทองศรี • อนุรักษ์ จุรีมาศ • โสภณ ซารัมย์ • วราวุธ ศิลปอาชา • ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ • เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร • สุชาติ โชคชัยวัฒนากร • ชัจจ์ กุลดิลก • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • พฤณท์ สุวรรณทัต • ประเสริฐ จันทรรวงทอง • พ้อง ชีวานันท์ • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ • ออมสิน ชีวะพฤกษ์
เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ? อุทัย พิมพ์ใจชน ? ไชยยศ สะสมทรัพย์ ? ฉัฐวัสส์ มุตตามระ ? เนวิน ชิดชอบ ? เสฐียรพงษ์ รัตนภิรมย์